รองผบ.ตร. สั่งทุกหน่วย ตรึงเข้มแนวชายแดน ป้องกันขนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

จับตา 'แรงงานต่างด้าว' ทะลักไทย ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร พ้อ! คนไทยเปิดประตูบ้าน ทำร้ายไทย

รองผบ.ตร. สั่งทุกหน่วย ตรึงเข้มแนวชายแดน ป้องกันขนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

รองผบ.ตร. สั่งทุกหน่วย ตรึงเข้มแนวชายแดน ป้องกันขนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีรายงานว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผบ.ตร. ในฐานะผอ.ศปม.ตร. ได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือวิทยุในราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ศปม 5.31/183 ถึง ผบช.น. ภ.1-9 ก. สตม. ตชด. และ สยศ.ตร. ใจความว่า

ตามข้อสั่งการในการประชุม ศปก.ศบค. ประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ให้ ศปม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังการลักลอบเข้าเมืองตามแนวชายแดน โดยให้จัดลำดับความสำคัญตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ประเทศมาเลเซีย กัมพูชา เมียนมา และ ลาว ตามลำดับ เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อสั่งการของ ศปก.ศบค. ในกรณีดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ทุกหน่วยดำเนินการ ดังนี้

รองผบ.ตร. สั่งทุกหน่วย ตรึงเข้มแนวชายแดน ป้องกันขนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

ให้จัดทำแผนสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่เป็นรูปธรรมในภาพรวมของ บช./ภ.และลงรายละเอียดระดับ บก./ภ.จว. โดยให้มีการวิเคราะห์จุดยุทธศาสตร์ เพื่อตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ที่สามารถครอบคลุมการสกัดกั้นการลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรทั้งทางเท้า ทางรถ และทางน้ำ มีการจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นยานพาหนะให้เพียงพอได้ตลอด 24 ชม. ขณะปฏิบัติหน้าที่ต้องจัดให้มีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวชนิดที่สามารถดูภาพได้แบบบัจจุบัน (Real time) เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตลอดเวลา

ส่วนการนำตัวคนต่างด้าวและคนสัญชาติไทยที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย เข้ากักกันในสถานที่กักกันฯให้ ผบก.ภ.จว. ในพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ โดยร่วมกับ ตม.จว. และกองร้อย-กก.ตชด. ขออนุมัติการดำเนินการตามแนวทางนี้ต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯ โดยขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งรองรับ เพื่อใช้แนวทางการกักกัน กรณีที่มีการจับกุมคนต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา ในพื้นที่จังหวัดให้ดำเนินการ ดังนี้

กรณีจับกุม โดยกล่าวหาว่า เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงข้อหาเดียว อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ให้ผลักดันออกนอกราอาณาจักร โดยไม่ต้องดำเนินคดีตามหนังสือ ตร. ที่ 0022.122/1670 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2541 โดยให้ผู้จับส่งตัวผู้ถูกจับเข้ากักกันในสถานที่กักกันทันที และให้ผู้จับดำเนินการลง ป.จ.ว. ที่สถานีตำรวจท้องที่ที่จับกุมไว้เพื่อเป็นหลักฐาน ในการจับด้วย เมื่อครบระยะเวลากักกันตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนดแล้ว ให้สถานที่กักกันประสานแจ้ง ตม.จว.เพื่อดำเนินการผลักดันคนต่างด้าวดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักร แต่หากยังไม่สามารถผลักดันได้ให้ ตม.จว. ดำเนินการประสานกับสถานที่กักกัน เพื่อดำเนินการกักตัวคนต่างด้าว รายดังกล่าวเพื่อรอการส่งกลับตามนัย ม.54 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2532 และคำสั่ง สตม. ที่ 124/2564 ลง 30 เมษายน 2564 ต่อไป

สำหรับกรณีจับกุม โดยกล่าวหาว่า เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาอื่นๆ ด้วย และความผิดนั้น ต้องระวางโทษที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือศาลอาญา-ศาลจังหวัด ให้ดำเนินการดังนี้ ให้ผู้จับนำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลาง (ถ้ามี) ส่งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หากมีการปล่อยตัวชั่วคราวให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปยังสถานที่กักกันทันที กรณีไม่มีการปล่อยตัวชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปยังสถานที่กักกันโดยเร็ว และยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง-ฝากขังต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในลักษณะการประชุมทางจอภาพหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขังผู้ต้องหาในสถานที่กักกันตามคำสั่งศาลเป็นประการใดให้ปฏิบัติตามนั้น ก่อนครบระยะเวลาการกักกันตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนดแล้ว ให้พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอนำตัวผู้ต้องหาไปฝากขังที่เรือนจำต่อไป

ขาด “แรงงานต่างด้าว” ธุรกิจเล็กแย่ ยอมเสี่ยงใช้ “คนลักลอบเข้า” ลดต้นทุน

สแกนต่างด้าวเถื่อน จับแรงงานผิดกฎหมาย

เมื่อการดำเนินคดีเสร็จสิ้น ให้ดำเนินการส่งตัวคนต่างด้าวให้ ตม.จว. ตามหนังสือคำสั่ง ตร. ในแนวทางปฏิบัติกรณีคนต่างด้าวตกเป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือถึงแก่ความตายโดยผิดธรรมชาติ เพื่อดำเนินการผลักดันคนต่างด้าวดังกล่าว ออกนอกราชอาณาจักร หากยังไม่สามารถผลักดันได้ให้ ตม.จว. พิจารณาเหตุจำเป็นในการประสานกับสถานที่กักกันเพื่อดำเนินการกักตัวคนต่างด้าวรายดังกล่าว รอการส่งกลับตามนัย ม.54 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และคำสั่ง สตม. ที่ 124/2564 ลงวันที่ 30 เมษายน 2564 ต่อไป

กรณีจับกุมคนสัญชาติไทยลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในพื้นที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ กรณีคนสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เข้าทางช่องทางที่กำหนด ซึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ให้ทำการจับกุมนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการ ดังนี้ กรณีผู้ต้องหายินยอมชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ และชำระค่าปรับเสร็จสิ้นแล้ว ให้นำตัวส่งสถานที่กักกัน กรณีผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือยินยอมชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนกำหนดแต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับในขณะนั้น ให้พนักงานสอบสวนถามชื่อ ที่อยู่ และคำให้การแล้วให้นำตัวส่งสถานที่กักกันแล้วดำเนินคดีต่อไปในภายหลัง

กรณีคนสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เข้าทางช่องทางที่กำหนดและกระทำความผิดในข้อหาอื่นๆ ด้วย และความผิดนั้น ต้องระวางโทษที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือศาลอาญา, ศาลจังหวัด ให้ดำเนินการเช่นเดียวกันโดยให้ผู้จับหรือพนักงานสอบสวน แจ้งข้อมูลของคนต่างด้าวหรือคนสัญชาติไทย พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามแบบรายงาน 1 ไปยัง สถานที่กักกัน

การจับกุมคนต่างด้าว ในกรณีอื่นๆ นอกจากข้อ 2 ให้ทุกหน่วยดำเนินการตามนัยหนังสือ ตร. ที่ 029.132/ว87 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เรื่อง แนวทางปฏิบัติกรณีคนต่างด้าวตกเป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือถึงแก่ความตายโดยผิดธรรมชาติ

การกักกันแรงงานต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อตกลงระหว่างประเทศ (MOU) หรือแรงงานตามฤดูกาล ให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนด หากพบว่าแรงงานต่างด้าวดังกล่าวกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้ ตม.จว. ดำเนินการส่งตัวแรงงานต่างด้าวเข้ากักกันในสถานกักกัน แล้วผลักดันออกนอกราชอาณาจักรต่อไป

ใน จว.อื่นนอกจาก 10 จังหวัด หาก สตม. พิจารณาเห็นว่าก่อนส่งตัวคนต่างด้าวกลับประเทศต้นทางควรจะกักตัวในสถานที่กักกันให้ประสานสถานที่กักกันนั้นๆ เพื่อให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาเป็นกรณีไป เพื่อดำเนินการตามนัย ม.54 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และคำสั่ง สตม. ที่ 124/2564 ลงวันที่ 30 เมษายน 64 ต่อไป

ที่มา : https://www.matichon.co.th