บริการขอ/ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน (E-Work Permit) แรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าว ที่นำเข้าแบบ MOU ในปัจจุบันมีระบบใหม่ โดยกรมการจัดหางานดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าวที่นำเข้ามาตามบันทึกความตกลง MOU ที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะได้รับใบอนุญาตทำงานแบบ E-Work Permit ออกโดยศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการจ้างโดยผ่านการอบรมให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย นำร่อง 3 จังหวัด คือ สระแก้ว หนองคาย และตาก

ใบอนุญาตทำงานในรูปแบบ E-Work Permit จะเป็นใบอนุญาตที่งานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ บัตรพาสติก หรือ สมาร์ทการ์ด (Smart Card) ซึ่งง่ายต่อการพกพา มีระบบป้องกันการปลอมแปลง และง่ายในการตรวจสอบ โดยเจ้าหน้าที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ตรวจสอบ QR Code ที่ปรากฏบนบัตรซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในการตรวจสอบแรงงานต่างด้าวได้เป็นอย่างดี

เอกสารที่ต้องใช้

เอกสารนายจ้าง (นายจ้างเซ็นชื่อ)

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้าง หรือ กรณีนายจ้างเป็นต่างด้าวให้ใช้สำเนาหนังสือเดินทางรวมทั้งหน้าที่วีซ่าและสำเนาใบอนุญาตทำงาน (สำเนา 2 ชุด/แรงงาน 1 คน)

2. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง ( 2 ชุด/แรงงาน 1 คน)

3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทฯ ( 2 ชุด/แรงงาน 1 คน) (กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล)

4. ใบโควตาที่ยังไม่หมดอายุ ( ตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด)

5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน ( 2 ชุด/แรงงาน 1 คน)

เอกสารของแรงงานต่างด้าว (ต่างด้าวพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวา)

1. หนังสือเดินทางตัวจริง (Passport)

2. ใบอนุญาตทำงานตัวจริง (work permit)

3. สำเนาหนังสือเดินทาง รวมทั้งหน้าที่ตีวีซ่า 2 ชุด

4. สำเนาใบอนุญาตทำงานทุกหน้าที่มีรายการ 2 ชุด

5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง อายุไม่เกิน 2 เดือน

6. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 6 ใบ

คำเตือน คนต่างด้าวจะต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุถ้าหากคนต่างด้าวยื่นภายในกำหนดเวลาแล้ว สามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนกว่านายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาต่อใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตจะได้รับการพิจารณาครั้งละไม่เกิน 1 ปี กรณีคนต่างด้าวทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว โดยไม่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุหรือได้ยื่นคำขอแล้วแต่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต และมิได้อุทธรณ์ หรืออุทธรณ์แล้วแต่รัฐมนตรีมีคำวินิจฉัยไม่อนุญาต มีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ