คาดจ่อเสนอต่อวีซ่าทำงานให้แรงงานข้ามชาติไปอีก 6 เดือน หลังจะครบกำหนดสิ้นเดือน มี.ค.นี้

คาดจ่อเสนอต่อวีซ่าทำงานให้แรงงานข้ามชาติไปอีก 6 เดือน หลังจะครบกำหนดสิ้นเดือน มี.ค.นี้

คาดจ่อเสนอต่อวีซ่าทำงานให้แรงงานข้ามชาติไปอีก 6 เดือน หลังจะครบกำหนดสิ้นเดือน มี.ค.นี้

หลังจากข่าว 3 มิติ นำเสนอประเด็นข้อกังวลใจของแรงงานข้ามชาติ ทั้ง 3 สัญชาติ คือ ลาว กัมพูชา และเมียนมา ที่วีซ่าทำงานจะครบกำหนดสิ้นเดือนมีนาคมนี้ พร้อมกันถึง 1 ล้าน 5 แสนคน และจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ไปตรวจสุขภาพเพื่อขอต่อวีซ่าไม่ได้ จนเกรงจะกลายเป็นแรงงานนอกระบบ ซ้ำเติมปัญหาแรงงาน

คาดจ่อเสนอต่อวีซ่าทำงานให้แรงงานข้ามชาติไปอีก 6 เดือน หลังจะครบกำหนดสิ้นเดือน มี.ค.นี้

 ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่าจะประชุมหาทางออก ในวันที่ 20 ม.ค. ที่จะถึงนี้ เพื่อนำข้อสรุปทางออกเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว ขณะที่ข่าว 3 มิติ พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเสนอผ่อนผันให้แรงงานทำงานอยู่ต่อไปอีก 6 เดือน นับจากวันครบกำหนดสิ้นเดือนมีนาคมนี้

แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ ตาม MOU คือ ลาว เมียนมา และกัมพูชา ซึ่งทำงานในประเทศไทย กว่า 1 ล้าน 5 แสนคน จะครบกำหนดทำงานสิ้นเดือนมีนาคมนี้ และแนวโน้มคือต่อวีซ่าไม่ทัน เพราะแรงงานต้องผ่านการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลก่อน แต่จากวิกฤตโควิด-19 ทำให้โรงพยาบาลยังไม่พร้อมตรวจในตอนนี้

ขณะเดียวกัน พาสปอร์ต หรือหนังสือเดินทางของแรงงานจำนวนมาก ก็จะครบกำหนด เหล่านี้คือปัญหาที่แรงงานในกิจการของคนไทย และในประเทศไทย กำลังเผชิญ หากไม่แก้ไขจะกลายเป็นแรงงานนอกระบบ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ ได้หารือกับเอกอัครราชทูตของทั้ง 3 ชาติ เพื่อหาแนวทางช่วยแรงงาน โดยแต่ละชาติมีแผนจะตั้งชุดเคลื่อนที่ของชาติตัวเองในประเทศไทย เพื่อทำหนังสือเดินทางให้แรงงาน แต่แผนนี้ก็ต้องพับไปจากการระบาดของโควิดในตอนนี้

ขณะนี้แรงงานต่างด่าว หรือแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมายที่ยังเหลืออยู่ มีจำนวน 2,526,275 คน เป็นแรงงานประเภททั่วไป 2,323,124 คน แรงงานตลอดชีพ คือที่อยู่ในประเทศไทยมานาน 68 คน เป็นแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น จีนฮ่อ 59,641 คน และเป็นแรงงานฝีมือ ชำนาญเฉพาะทาง เช่น วิศวกร เป็นต้น ราว 143,442 คน

เจาะจงในกลุ่มแรงงานทั่วไป แยกเป็นแรงงานกลุ่มพิสูจน์สัญชาติเดิม จากลาว เมียนมา กัมพุชา รวม 696 คน แรงานที่ได้รับอนุญาตตาม MOU 4 ชาติ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม รวมกว่า 8 แสนคน แรงงานที่ได้รับอนุญาตตามมติ ครม. ระหว่างปี 2563 และ ปี 2562 รวมกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน

แรงงานของกลุ่มหลังนี่เอง ที่จะครบกำหนดทำงานได้ถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ โดยเจาะลึกลงไปเป็นกลุ่มที่ได้รับอนุญาตตามมติ ครม. 4 สิงหาคม 63 จำนวน 240,572 คน และแรงงานกลุ่มที่ได้รับอนุญาตตามมติครม. 20 สิงหาคม 62 จำนวน 1,266,011 คน รวมแรงงาน ตามมติ ครม. 2 ครั้งนี้ จำนวน 1,506,583 คน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยอมรับว่า เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ปัญหา ก่อนแรงงานเหล่านี้จะตกหล่นไปนอกระบบ โดยจะประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารแรงงานต่างด้าว วันที่ 20 ม.ค.นี้ เพื่อนำข้อสรุปเสนอต่อ ครม.

ข่าว 3 มิติ ตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีข้อเสนอที่จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายแรงงานต่างด้าว เพื่อเสนอต่อ ครม. ให้พิจารณาขยายเวลาทำงานของแรงงานต่างด้าวต่อไปอีก 6 เดือน โดยไม่ถูกดำเนินคดี นับจากวันครบกำหนด 31 มีนาคมที่จะถึงนี้ เพื่อให้ป้องกันแรงงานหลุดจากระบบลงใต้ดิน เป็นการป้องกันโรคระบาด เพื่อเข้าสู่การคัดกรอง และประคองกิจการของนายจ้างในประเทศไทย ซึ่งหาก ครม. มีมติตามข้อเสนอดังกล่าวจะลดปัญหาของนายจ้างและกิจการ ที่พึ่งพาแรงงานกว่า 1 ล้าน 5 แสนคนได้

ที่มา : https://ch3thailandnews.bectero.com/