คำถามที่พบบ่อย

นำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU แต่ละสัญชาติใช้ระยะเวลาดำเนินการเท่าไร? และคนงานต้องเดินทางไป-กลับทำเอกสารกี่ครั้ง?

แรงงานเมียนมา (พม่า)
อย่างน้อย 3-4 เดือน และคนงานจะต้องเดินทางไปพม่า 2 ครั้ง ครับ

แรงงานกัมพูชา (เขมร)
อย่างน้อย 3-4 เดือน ถ้ามีพาสปอร์ตเก่าเดินทางไปประเทศลาว 2 ครั้ง ครับ

แรงงานลาว
อย่างน้อย 3-4 เดือน ถ้ามีพาสปอร์ตเก่าเดินทางไปประเทศลาว 1 ครั้ง ครับ

แรงงานนำเข้า MOU อยู่ครบ 2 ปี ต้องทำอย่างไรบ้าง?

สามารถต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้อีก 2 ปีครับ

แรงงานนำเข้า MOU อยู่ครบ 4 ปี ต้องทำอย่างไรบ้าง?

นายจ้างต้องยื่นเอกสารทำเรื่องนำเข้าแรงงานต่างด้าวใหม่ (MOU) แต่ต้องดำเนินการก่อนหมดอายุ 6 เดือนครับ

คนต่างด้าวทำพาสปอร์ต, บัตรชมพู หรือเอกสารของต่างด้าวหาย ต้องทำอย่างไรบ้าง?

นายจ้างควรพาคนต่างด้าวไปแจ้งความเอกสารหายครับ
ดังนั้น นายจ้างหรือคนต่างด้าวต้องสำเนาเอกสารของต่างด้าวไว้เสมอ หนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต) บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน เพื่อขอทำเอกสารใหม่ครับ

แรงงานต่างด้าวพาญาติหรือเพื่อนที่บ้าน มาทำงานที่ประเทศไทย สามารถพาเข้ามาได้ไหม? ทำอย่างไรได้บ้าง?

สามารถพาเข้ามาได้ แต่ต้องดำเนินตามขั้นตอนของ MOU ครับ

นายจ้างต้องให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างหลายคน ทำได้หรือไม่?

ลูกจ้างต้องทำงานกับนายจ้างตรงตามที่ใบอนุญาตทำงานกำหนดเท่านั้นครับ

คนต่างด้าวหนีไปกับนายจ้างใหม่ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่นายจ้างเก่าทำ MOU?

นายจ้างใหม่ต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริงแก่นายจ้างเก่าครับ

ต่างด้าวมีบัตรผ่านแดน จะเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดอื่นๆ ได้หรือไม่?

ไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ เนื่องจากบัตรผ่านแดนทำงานได้เฉพาะจังหวัดติดชายแดนเท่านั้น. ถ้าต่างด้าวต้องการทำงานในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดอื่นๆ ต้องนำเข้า MOU เท่านั้นครับ

แรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารติดตัวเลย ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ต้องเตรียมเอกสารนายจ้าง หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน,หนังสือรับรองบริษัท ของลูกจ้างใช้รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 6 รูป และยื่นเรื่องนำเข้า (MOU) ครับ

คนต่างด้าวอยู่ในประเทศไทย ไม่มีเอกสารอะไรต้องทำอย่างไร?

ต้องทำนำเข้าแรงงานต่างด้าว (MOU) ครับ โดยเตรียมนายจ้าง หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองบริษัท (ถ้ามี) เอกสารลูกจ้าง สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านครับ

วีซ่าต่างจากพาสปอร์ตอย่างไร?

ซึ่งก็คือ บัตรประจำตัวประชาชน ในรูปแบบ สากล ที่สามารถแสดงตัวตนของบุคคลที่ถือ หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (Passport) นั้นๆ โดยจะระบุ ชื่อผู้เดินทาง เลขที่หนังสือเดินทาง รูปถ่าย อายุ สัญชาติ ศาสนา อาชีพ ลายมือชื่อ เป็นต้น

โดย หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต ( Passport ) นั้นยังใช้เป็นเอกสารสำคัญที่จะใช้เป็นหลักฐานในการขอ หนังสือตรวจลงตรา (Visa) ด้วย โดยกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นผู้มีอำนาจในการออก หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต ( Passport )

หนังสือเดินทางชั่วคราวมีความสำคัญและมีดีอย่างไร?

เป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ถือหนังสือเดินทางชั่วคราว (TP ) หรือหนังสือเดินทางถาวร (PP) จัดเป็นเอกสารที่ใช้ในการขอตรวจลงตรา และประทับตราอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร (วีซ่า) เพื่อวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย โดยถูกต้องตามกฎหมาย

  1. ใช้หนังสือเดินทางชั่วคราว หรือหนังสือเดินทางถาวรแสดงกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเวลาเดิน ทางกลับ ประเทศลาวเพื่อไปทำธุระหรือกลับไปเยี่ยมครอบครัว ญาติพี่น้อง
  2. ใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อถูกตรวจสอบขณะอยู่ในประเทศไทย
หนังสือเดินทางชนิดต่างๆ ของแต่ละสัญชาติ มีอะไรได้บ้าง?
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศ จะต้องทำหนังสือเดินทาง วีซ่าทำงาน และ เวิร์คเพอร์มิท ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามหลักสากล โดยทางรัฐบาลจึงได้มีมาตรการ การขึ้นทะเบียนแรงงานเถื่อนมาโดยตลอด โดยจัดตั้งศูนย์เพื่อทำการพิสูจน์สัญชาติขึ้นภายในประเทศเพื่อออกหนังสือที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง และสามารถนำไปตีวีซ่าทำงาน และขึ้นใบอนุญาตทำงานกันได้ อนาคตจะเหลือพาสปอรฺตที่ทำMoU ได้ตามนี้
พาสปอร์ต เมียนมา พิมพ์ “PPMRR”
พาสปอร์ต ลาว พิมพ์ “PPLAO”
พาสปอร์ต กัมพูชา พิมพ์ “PPKHM”
 
พม่า
Temporary Passport (TP เล่มแดง) มี 2 รุ่น รุ่นแรกอายุ 4 ปี รุ่นสองอายุ 6 ปี  ทำ MOU ไม่ได้ เป็นพาสชั่วคราว
Temporary Passport (TP เล่มม่วง) มีอายุ 6 ปี ทำ MOU ไม่ได้
Certificate of Identity (CI เล่มเขียว) มีอายุ 4 ปี ทำ MOU ไม่ได้
Inter passport (PP เล่มสีแดง) มีอายุ 5 ปี ทำ MOU ได้
คนมีเล่มเก่าพาสปอร์ตต้องมีอายุเกิน 2ปีขึ้นไป เพราะ MOU จะได้รอบละ 2ปี อายุพาสต้องเหลือพอ ชนิดของเล่มต้องเป็น PJ เท่านั้น ถ้าใครเป็นPV ต้องไปเสียค่าปรับเล่ม ประมาณ 5,000 บาท เพื่อเปลี่ยนจาก PV ให้เป็น PJ อนาคตจะเหลือแต่เล่ม PJ เท่านั้น
 
ลาว
Certificate of Identity (CI เล่มเขียวอ่อน) มีอายุ 2 ปี ทำ MOU ไม่ได้เป็นพาสปอร์ตชั่วคราว
หนังสือเดินทาง (International Passport)
ลาว เล่มสีน้ำเงิน PP มีอายุ 10 ปี
 
กัมพูชา
Travel Document (TD เล่มดำ) มีอายุ 5 ปี ทำ MOU ได้
หนังสือเดินทาง (International Passport)
กัมพูชา เล่มสีเลือดหมู มีอายุ 10 ปี ทำ MOU ได้
ข้อดีของพาสปอตกัมพูชา สามารถขยายเล่ม (ขยายได้ แค่ะ 2 ครั้ง ได้เพิ่มครั้งละ 1 ปี ) ยกตัวอย่างเช่น เล่มหมดอายุที่ไทยไปขยายเล่มคือขยายเล่มเดิม ให้อายุเล่มเพิ่มขึ้นได้ ไม่ต้องไปเสียเงินทำเล่มใหม่ เล่มดำยังสามารถทำ MOU ได้ แต่ต้องดูอายุของเล่มห้ามต่ำกว่า 2 ปี
  1. ใช้หนังสือเดินทางชั่วคราว หรือหนังสือเดินทางถาวรแสดงกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเวลาเดิน ทางกลับ ประเทศลาวเพื่อไปทำธุระหรือกลับไปเยี่ยมครอบครัว ญาติพี่น้อง
  2. ใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อถูกตรวจสอบขณะอยู่ในประเทศไทย
วีซ่าขาด หรือ วีซ่าต่างด้าวหมดอายุต้องทำอย่างไร?

สามารถต่อครับ โดยหลักกฎหมายถ้าอยู่กำหนดจะถูกปรับวันละ 500 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท หรือ 40 วัน ถ้าเกิน 40 วันจะต่อไม่ได้ ตามกฎหมายครับ

แรงงานต่างด้าวจะกลับบ้านต้องทำอย่างไรบ้าง?

ทำ (Re-Entry) เพื่อรักษาสิทธิ์วีซ่าครับ

พาสปอร์ตต่างด้าวหายทำใหม่เท่าไหร่? และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ตใหม่

  1. แจ้งความ พาสปอร์ตหาย
  2. ขอหนังสือรับรอง จากสถานทูตเมียนมา
  3. ทำเล่ม ไปทำพาสปอร์ตเล่มใหม่ ที่สถานทูตเมียนมา
  4. ย้ายตราวีซ่า ไปที่ตม.เพื่อทำเรื่องย้ายตราวีซ่า
  5. ขอปรับปรุงข้อมูล ที่สำนักงานจัดหางาน

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำเนาใบแจ้งความ
  • บัตรประชาชนเมียนมา
  • ทะเบียนบ้านเมียนมา
  • สำเนาพาสปอร์ตเล่มเก่า
  • รูป 1.5 นิ้ว 6 รูป
  • Work Permit เล่มจริง
  • สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง 2 ชุด
  • สำเนาใบทะเบียนบ้านนายจ้าง 2 ชุด
ใบอนุญาตแรงงานต่างด้าวหาย?

กรณีใบอนุญาตทำงานชำรุดหรือสูญหายให้ผู้ถือใบอนุญาตทำงานยื่นคำขอใบแทนใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือสูญหายโดยต้องดำเนินการก่อนวันที่หมดอายุของใบอนุญาตทำงานนั้น
หมายเหตุ :
* ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือบริการประชาชนเรียบร้อยแล้วทั้งนี้ในกรณีที่คำขอหรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนและ/หรือมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์เป็นเหตุไม่สามารถพิจารณาได้เจ้าหน้าที่จะจัดทำบันทึกความบกพร่องของรายการเอกสารหรือเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติมโดยผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขและ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดในบันทึกดังกล่าวมิเช่นนั้นจะถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอโดยเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจลงนามบันทึกดังกล่าวและจะมอบสำเนาบันทึกความบกพร่องดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจไว้เป็นหลักฐาน
* ทั้งนี้จะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
* ระยะเวลาที่กำหนดสำหรับการขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าวทุกกรณีที่มีปริมาณคำขอไม่เกิน 25 คำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 1 คนต่อวันอย่างไรก็ตามระยะเวลาในการดำเนินการอาจยาวกว่าที่กำหนดไว้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำขอที่รับเข้ามามีปริมาณที่มากกว่าจำนวนการให้บริการตามที่กำหนด

มีโรงพยาบาลไหนบ้าง? ที่ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว และ แรงงานต่างด้าวตรวจโควิดที่ไหน?
การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว เพื่อ ต่อวีซ่า ต่อใบอนุญาตทำงาน ทุกประเภท นอกจากการตรวจโรคสำคัญ 6 โรคเดิมแล้ว ต้องมีผลการตรวจโควิด-19 ด้วยครับ  (กฏกระทรวงมหาดไทย 25 ธ.ค. 63) (พื้นที่ต่างจังหวัด โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่อยู่ปัจจุบัน)
 
พื้นที่กรุงเทพฯ
โรงพยาบาลเลิดสิน
ถ.สีลม แขวงศรีเวียง เขตบางรัก กทม.
โทรศัพท์ 0 253 9801 ต่อ 9621 – 2
 
โรงพยาบาลราชวิถี
36 ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.
โทรศัพท์ 0 2354 8108 – 36
 
โรงพยาบาลกลาง
ถ.หลวง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม.
โทรศัพท์ 0 2220 8000
 
โรงพยาบาลตากสิน
ถ.สมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กทม.
โทรศัพท์ 0 2437 0123
 
โรงพยาบาลวชิระ
ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตถุสิต กทม.
โทรศัพท์ 0 2244 3000
 
โรงพยาบาลนพรัตน
ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม.
โทรศัพท์ 0 2517 4270 – 9
 
โรงพยาบาลเจริญกรุง
ถ.เจริญกรุง แขวงบางคอแหล่ม เขตบางคอแหลม กทม.
โทรศัพท์ 0 2289 7000
 
โรงพยาบาลสิรินธร สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่20 ชอยอ่อนนุช 90 แขวงประเวศ ขตประเวศ กทม.
(กล้โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 7 ลาดกระบัง)
โทรศัพท์ O 2328 6901 – 19
 
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี (โรงพยาบาลหนองจอก)
สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 38/2 ถ.เลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กทม.
โทรศัพท์ 0 2543 1307 0 2988 4100 – 1
 
โรงพยาบาลลาดกระบัง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 2 ซอยลาดกระบัง 15 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. (ใกล้ศูนย์เยาชนลาดกระบัง)
โทรศัพท์ O 2326 9995 , 0 2326 7711

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 18 ถพุทธมณฑลสาย 3 ชอย 10 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กทม.
โทรศัพท์ 0 2421 2222 , O 2444 0163
 
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 6 ซอยหนองแขม – ศรีนวล 1 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม.
(สุดสายถเมล์ปรับอากาศ สาย 80)
โทรศัพท์ 0 2429 3575
เอกสารประกอบการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1.เอกสารที่ต้องเตรียมในวันรับนัด
1.1 สำเนาพาสปอร์ต (Passport) หรือสำเนาบัตรประจำตัวคน ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) 1.2 สำเนาบัตรอนุญาตทำงาน (Workpermit) 1 ฉบับ
1.3 สำเนาใบโควตาหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน นายจ้าง 1 ฉบับ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์
ที่สามารถติดต่อได้
1.4 สำเนาบัตรประกันสังคมกรณีผู้มีสิทธิประกันสังคม
 
2. เอกสารที่ต้องนำมาในวันตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
2.1 ใบนัดตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว พร้อมเอกสารในข้อ 1.1-1.4
2.2 เงินค่าตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว 500 บาท
ค่าประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว 3,200 บาท
(ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี) รวมเป็นเงิน 3,700 บาท
3. เอกสารที่ท่านจะได้รับจากโรงพยาบาล
3.1 ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง 1 ฉบับ
3.2 ใบนัดรับผลการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
 
4. เอกสารที่ต้องนำมาในวันรับผลการตรวจสุขภาพ
ตามข้อ 3.1–3.2 แรงงานไม่จำเป็นต้องมารับผลการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ให้ผู้แทนมารับแทนได้ เอกสารที่ท่านจะได้รับคือ
4.1 ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง 1 ฉบับ
4.2 บัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว 1 ใบ
แรงงานต่างด้าวเปิดบัญชีธนาคาร ได้ไหม? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

แรงงานต่างด้าวเปิดบัญชีธนาคารได้ครับ

เอกสารที่ต้องใช้

1) หนังสือเดินทาง (Passport)
2) หนังสืออนุญาตทำงาน (Work Permit)
3) ที่อยู่ที่ติดต่อได้ในประเทศไทยและที่อยู่ในประเทศที่เป็นสัญชาติของผู้ขอเปิดบัญชี

แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู เปิดบัญชีธนาคารได้ไหม? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

แรงงานต่างด้าวเดินทางข้ามจังหวัดได้ไหม?

แรงงานต่างด้าวซื้อรถ และออกรถได้ไหม?

 
พื้นที่กรุงเทพฯ
โรงพยาบาลเลิดสิน
ถ.สีลม แขวงศรีเวียง เขตบางรัก กทม.
โทรศัพท์ 0 253 9801 ต่อ 9621 – 2
 
โรงพยาบาลราชวิถี
36 ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.
โทรศัพท์ 0 2354 8108 – 36
 
โรงพยาบาลกลาง
ถ.หลวง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม.
โทรศัพท์ 0 2220 8000
 
โรงพยาบาลตากสิน
ถ.สมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กทม.
โทรศัพท์ 0 2437 0123
 
โรงพยาบาลวชิระ
ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตถุสิต กทม.
โทรศัพท์ 0 2244 3000
 
โรงพยาบาลนพรัตน
ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม.
โทรศัพท์ 0 2517 4270 – 9
 
โรงพยาบาลเจริญกรุง
ถ.เจริญกรุง แขวงบางคอแหล่ม เขตบางคอแหลม กทม.
โทรศัพท์ 0 2289 7000
 
โรงพยาบาลสิรินธร สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่20 ชอยอ่อนนุช 90 แขวงประเวศ ขตประเวศ กทม.
(กล้โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 7 ลาดกระบัง)
โทรศัพท์ O 2328 6901 – 19
 
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี (โรงพยาบาลหนองจอก)
สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 38/2 ถ.เลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กทม.
โทรศัพท์ 0 2543 1307 0 2988 4100 – 1
 
โรงพยาบาลลาดกระบัง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 2 ซอยลาดกระบัง 15 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. (ใกล้ศูนย์เยาชนลาดกระบัง)
โทรศัพท์ O 2326 9995 , 0 2326 7711

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 18 ถพุทธมณฑลสาย 3 ชอย 10 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กทม.
โทรศัพท์ 0 2421 2222 , O 2444 0163
 
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 6 ซอยหนองแขม – ศรีนวล 1 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม.
(สุดสายถเมล์ปรับอากาศ สาย 80)
โทรศัพท์ 0 2429 3575
แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู เปิดบัญชีธนาคารได้ไหม? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สามารถทำได้ครับ

เอกสารที่ต้องใช้

  1. บัตรสีชมพู ตัวจริง
  2. ทร.38/1
  3. ใบเสร็จรับเงินการขออนุญาตทำงาน ที่ออกโดยจัดหางาน
  4. เงินเปิดบัญชี 500 + ค่าธรรมเนียมบัตร ATM
แรงงานต่างด้าวเดินทางข้ามจังหวัดได้ไหม?
การออกนอกเขตพื้นที่ของแรงงาน 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา)
เงื่อนไขการออกนอกเขตพื้นที่ของแรงงาน 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา)
* แรงงาน 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา) ที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติออกหนังสือเดินทาง(ห้ามออกนอกเขตพื้นที่จังหวัด)
* แรงงาน 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา) ที่ขึ้นทะเบียนตามอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2554(ห้ามออกนอกเขตพื้นที่จังหวัด)
ยกเว้นเฉพาะ ;
– แรงงานที่ได้รับอนุญาตทำงานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทำหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามี หรือภรรยานายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ
– ได้รับการอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ด้วยเหตุจำเป็นดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน เพื่อปฏิบัติตามกฎมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
2. เป็นพยานศาล
3. ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน
4. มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในกระทรวงแรงงาน
5. เพื่อการรักษาพยาบาล
– การเคลื่อนย้ายออกนอกเขตพื้นที่เพื่อการทำงาน ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกำหนด
หมายเหตุ :กรณีออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าการอนุญาตให้คนต่างด้าวให้อยู่ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นอันสิ้นผล
……………………………………………………….
สรุป “ การออกนอกเขตพื้นที่ ต้องขออนุญาต ยกเว้นประเภทรับใช้ในบ้าน กรณีเดินทางติดตามนายจ้าง หากฝ่าฝืนการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด”
แรงงานต่างด้าวซื้อรถ และออกรถได้ไหม?

แรงงานต่างด้าวสามารถออกรถ / ซื้อรถได้ครับ

กรณีเป็นคนต่างด้าว / แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา)
1. หลักฐานแสดงตนที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น
2. หลักฐานแสดงถิ่นที่อยู่ที่ทางราชการออกให้ เช่น
– ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ท.ร.14)
– ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13)
– ทะเบียนประวัติ
– ทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา (ท.ร.38/1) เป็นต้น

ในส่วนของเอกสารและหลักฐานที่จะใช้ในการจดทะเบียนรถ
1. หนังสือแจ้งจำหน่ายรถ
2. หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
3. หลักฐานการได้มาของรถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาเช่าซื้อ ฯลฯ
4. หลักฐานการทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
5. กรณีเจ้าของรถเป็นชาวต่างชาติ
– ภาพถ่ายหนังสือเดินทาง ซึ่งได้รับการตรวจลงตราวีซ่าถูกต้องตามกฎหมาย
– หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่หรือหนังสือรับรองทำงานจากสถานทูต กรมการกงสุล กองตรวจคนเข้าเมือง กรมการจัดหางาน หน่วยราชการอื่นๆหรือองค์การระหว่างประเทศ
– หนังสือมอบอำนาจ ( กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท ) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

หมายเหตุ เอกสารทุกอย่างต้องไม่หมดอายุ